จะเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ควรเลือกอย่างไรถึงจะคุ้มค่าและดีต่อรถที่สุด

เจ้าของรถยนต์ทุกคนนอกจากควรจะต้องมีการพิจารณาเรื่องของระดับความคุ้มครองของประกันชั้น 1 หรือประกันในระดับชั้นต่าง ๆ ตามความเหมาะสมแล้ว รถยนต์ก็ยังมีสิ่งที่จะต้องคิดพิจารณาเลือกอีกมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ปัจจุบันมีน้ำมันเครื่องมากมายหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อก็จะมีเกรดและคุณภาพที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและความต้องการในการใช้งานของรถยนต์

ประโยชน์ของน้ำมันเครื่อง ก็คือ ช่วยหล่อลื่นเครื่องยนต์ เพราะว่าน้ำมันเครื่องจะมีส่วนช่วยในการสร้างชั้นฟิล์มเคลือบชิ้นส่วนภายในของรถยนต์ เพื่อลดการเสียดสีของโลหะขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน เวลาเราจะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเราควรจะพิจารณาเลือกอย่างไร หลักทั่วไปในการพิจารณาก็จะมีอยู่ 3 ส่วน

1.ประเภทของน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องที่มีใช้กับรถยนต์ในปัจจุบันนี้จะแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ

  • Mineral based เป็นน้ำมันเครื่องธรรมดา ระยะการใช้งานจะอยู่ที่ 3,000 – 5,000 กิโลเมตร
  • Semi Synthetic เป็นน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ระยะการใช้งานจะอยู่ที่ 5,000 – 7,000 กิโลเมตร
  • Fully Synthetic เป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ระยะการใช้งานจะอยู่ที่ 10,000 กิโลเมตรขึ้นไป

ในช่วงระยะนี้หลายคนจะต้องอยู่บ้านมากขึ้น เพราะต้องหลบโควิด 19 จึงทำให้ไม่ค่อยได้ใช้รถเหมือนปกติ กรณีแบบนี้หลายคนเริ่มพิจารณาที่จะปรับเปลี่ยนอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับรถยนต์ อย่างประกันภัย เนื่องจากบางคนทำประกันชั้น 1 ไว้ เมื่อไม่ได้ใช้รถจึงคิดว่าควรจะลดระดับประกันลงมาเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

นอกจากเรื่องประกันก็ยังมีเรื่องน้ำมันเครื่อง เป็นอีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ถ้าใช้รถน้อยลง แนะนำว่าระยะเวลาประมาณ 6 เดือนก็ควรจะไปทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ไม่ว่าน้ำมันเครื่องนั้นจะเป็นแบบไหนก็ตาม แบบนี้จะช่วยรักษาสภาพอุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถไว้ได้

2.เกรดของน้ำมันเครื่อง

ส่วนในเรื่องเกรดของน้ำมันเครื่องนั้น จะมีมาตรฐานกำหนดอยู่ และเราสามารถสังเกตได้จากข้างขวดผลิตภัณฑ์ โดยถ้าเป็นน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์เบนซิน ก็จะมีการขึ้นต้นด้วยอักษรย่อ API (เป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองมาตรฐานสากลเรื่องน้ำมันเครื่อง) จากนั้นก็จะตามมาด้วยอักษร S และตามด้วยเกรดของน้ำมันเครื่อง เรียงตามตัวอักษรตั้งแต่ A-Z  ก็จะออกมาเป็นลักษณะดังนี้ API SN อย่างนี้เป็นต้น

ส่วนน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์ดีเซล ก็จะมีการขึ้นต้นด้วยอักษรย่อ API จากนั้นก็จะตามมาด้วยอักษร C และตามด้วยเกรดของน้ำมันเครื่อง เรียงตามตัวอักษรตั้งแต่ A-Z  ก็จะออกมาเป็นลักษณะดังนี้ API CF อย่างนี้เป็นต้น

3.ความหนืดของน้ำมันเครื่อง

ความหนืดก็คือ ความข้นใสของน้ำมันเครื่องที่มีผลต่อการปกป้องเครื่องยนต์จากการสึกหรอของเครื่องยนต์ โดยในส่วนของความหนืดนั้น จะมีการทดสอบและรับรองด้วย สถาบันสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ หรือ SAE โดยจะมีการวัดค่าเป็นตัวเลข เช่น 20, 30, 40 และตัวเลขที่ระบุความหนืดเหล่านี้จะมีการระบุไว้ต่อท้ายอักษรที่ระบุเกรดของน้ำมันเครื่อง ยกตัวอย่างเช่น API SN 5W– 40 อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งถ้าตัวเลขยิ่งมากก็จะหมายถึงว่า น้ำมันเครื่องนั้นมีค่าความหนืดสูงนั่นเอง

ไม่ชำนาญเรื่องรถเลือกน้ำมันเครื่องอย่างไรดี

สำหรับใครที่เป็นมือใหม่หรือไม่ค่อยรู้เรื่องรถยนต์ วิธีการเลือกน้ำมันเครื่องแบบง่าย ๆ และไม่ให้พลาดก็ให้เลือกอิงตามคู่มือที่ติดมากับรถ ไม่ควรพิจารณาเลือกเอง เพราะถ้าหากเลือกน้ำมันเครื่องเป็นชนิดที่ความหนืดน้อยเกินไป น้ำมันเครื่องนั้นก็จะขาดคุณสมบัติการเป็นแผ่นฟิล์มที่จะเข้าไปแทรกตัวเข้าไปอยู่ระหว่างโลหะของเครื่องยนต์

เช่นกันหากเลือกน้ำมันเครื่องหนืดเกินไป ก็จะทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถสูบฉีดน้ำมันเครื่องเข้าไปหล่อเลี้ยงระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ได้อย่างทั่วถึง ก็จะทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าที่ควร นอกจากการจะเลือกตามคู่มือแล้ว อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ การเลือกเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเกรดพรีเมียม จากศูนย์บริการที่ได้มาตรฐานของรถยนต์โดยตรง ก็จะเป็นการปกป้องเครื่องยนต์ของเราที่ดีที่สุดอีกทางหนึ่ง

นอกจากเรื่องของการเลือกน้ำมันเครื่องแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การเลือกประกันภัยรถยนต์ คุณไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกประกันชั้น 1 เสมอไปก็ได้ ขอเพียงเลือกให้เหมาะสมกับรถและการขับขี่ของคุณ เท่านี้คุณก็จะได้ความประหยัดที่คุ้มค่าอย่างที่คุณต้องการแล้ว