แอป ฟู้ดเดลิเวอรี่

4 แอป ฟู้ดเดลิเวอรี่ที่ต้องมีติดเครื่อง

เรียกได้ว่าหมดยุคที่มีการระบาดโควิด-19 กันอีกแล้วสินะครับ การใช้ชีวิตและการหาของกินนั้นเป็ฯเรื่องที่ต้องการความสะดวกไปพร้อมๆ กับการกินของอร่อยๆ จึงทำให้ฟู้ดเดลิเวอรี่เป็นอะไรที่ตอบโจทย์เป็นอย่างมากเลยก็ว่าได้ครับ วันนี้เราเลยจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “4 แอป ฟู้ดเดลิเวอรี่ที่ต้องมีติดเครื่อง” กัน พร้อมกับอธิบายแนวทางเกี่ยวกับช้อดีที่ลดการสะสมของเชื้อได้ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาเราไปชมกันดีกว่าครับ

สั่งอาหารผ่านฟู้ดเดลิเวอร์รี่ ลดความเสี่ยงโรคต่างๆ ได้อย่างไร?

การสั่งอาหารผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่มีสามารถลดความเสี่ยงโควิด-19 ได้แน่นอนครับ เพราะสมัยนี้ทางบริษัทมีมาตรการ “Contactless Delivery ลดเสี่ยง เลี่ยงสัมผัส” และ Social Distancing เพื่อสุขภาพอนามัยของลูกค้าและพี่คนไรเดอร์ นอกจากนี้ระหว่างผู้สั่งและพี่ไรเดอร์จะต้องมีความร่วมมือในการลงมารับอาหารบริเวณจุดนัดรับ โดยให้คนขับนำอาหารที่สั่งวางไว้ในจุดรับ-ส่งของ เพื่อเลี่ยงการสัมผัสกันโดยตรง และให้คนขับเว้นระยะห่างให้ลูกค้าตรวจสอบอาหาร และเงินทอนไม่น้อยกว่า 2 เมตร นอกนี้ตัวพี่ไรเดอร์จะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือทุกครั้งก่อนหยิบจับอาหาร รักษาระยะห่างระหว่างรับของจากร้านค้าและส่งของให้ลูกค้า เพื่อลดความเสี่ยง พร้อมแนะนำให้ส่งอาหารด้านนอกอาคารนั้นเองครับ

5 แบรนด์ฟู้ดเดลิเวอรี่น่าใช้งาน

Grab Food

สำหรับ Grab ที่ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ตั้งแต่ปี 2018 โดยค่าจัดส่งเริ่มต้นที่ 10 บาท พร้อมให้บริการใน 35 เมือง 33 จังหวัด ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดกว่า 14 ล้านดาวน์โหลด มีพาร์ตเนอร์ผู้ขับกว่า 100,000 ราย มีร้านอาหารในระบบกว่า 80,000 ร้าน แค่ช่วง COVID-19 ที่ผ่านมามีผู้ใช้แกร็บฟู้ดรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า และยอดออเดอร์เติบโตถึง 30%

LINE MAN

จากแพลตฟอร์ม Chat ที่มีจุดแข็งเป็นผู้ใช้งาน LINE กว่า 50 ล้านราย ดังนั้น LINE จึงต้องการต่อยอดจำนวนผู้ใช้อันมหาศาลด้วยการผุด ‘LINE MAN’ ที่ให้บริการเรียกแท็กซี่, สั่งซื้ออาหาร, ซื้อของใช้ในบ้าน หรือแม้แต่เรียกมารับพัสดุ โดยมีพาร์ตเนอร์อย่าง ‘Lalamove’ ที่ช่วยขนส่งสินค้า ซึ่งในส่วนของบริการส่งอาหาร LINE MAN ให้บริการใน 13 จังหวัด ครอบคลุมร้านอาหาร 200,000 ร้าน โดยมีค่าจัดส่งเริ่มต้นที่ 10 บาทเช่นกัน

Robinhood

Robinhood แพลตฟอร์มน้องใหม่ภายใต้บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (Purple Ventures) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) โดยมีเงินลงทุนกว่า 100 ล้านบาท ภายในแอปมีรายละเอียด ร้านค้าให้เลือกมากมายและมีจุดเด่นคือ ไม่เก็บค่าธรรมเนียมกับกับร้านอาหารอีกด้วย

Food Panda

ทำตลาดในไทยมาตั้งแต่ปี 2012 สำหรับ Food Panda บริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่สัญชาติเยอรมนีที่ปัจจุบันให้บริการครอบคลุมถึง 72 จังหวัด และจะครบ 77 จังหวัดในสิ้นปีนี้ ส่วนร้านค้าพาร์ตเนอร์มีราว 20,000 ร้าน พาร์ตเนอร์ผู้ขับในปัจจุบันมีกว่า 90,000 ราย ขณะที่ค่าบริการสูงสุดไม่เกิน 40 บาท และล่าสุดมีบริการใหม่ ‘แพนด้า มาร์ท’ ขายสินค้าอุปโภคบริโภค มี 7 แห่ง สิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 30 สาขา

ShopeeFood

การชำระผ่านโมบายล์แบงกิ้ง, ShopeePay และการเก็บเงินแบบปลายทาง นอกจากนี้ผู้ใช้งานก็ยังสามารถใช้ Shopee Coin แทนเงินสดในการสั่งอาหารได้ด้วยเช่นกัน

ข้อเสียของการใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่

สภาพแวดล้อม อากาศ ส่งผลให้อาหารเสียหาย ปัญหาที่ใหญ่หลวงนักของการทำอาหารแบบเดลิเวอรีนั่นคืออาหารบูด อาหารเสีย เนื่องจากร้านค้าทำอาหารสดใหม่และบรรจุใส่กล่องในขณะที่อาหารยังร้อนอยู่ หากลูกค้ารับประทานในทันทีที่ได้รับ ก็คงไม่เกิดปัญหาเรื่องอาหารบูด แต่ลูกค้าบางรายตั้งทิ้งไว้ก่อนหรือค่อยรับประทานตอนเย็น ทำให้อาหารเสียง่ายมาก หรือแม้แต่อาหารไปส่งช้ากว่าที่คาดไว้ ท่ามกลางอากาศร้อนๆ อาหารก็เสียได้เช่นกัน และหนึ่งในวิธีการเซฟอาหารบูดที่เจ้าของร้านขายเนื้อ Tiny Rabbit Grocery ได้แชร์ไว้คือการที่ร้านอาหารทำอาหารเสร็จแล้ว ทิ้งไว้ให้เย็น ค่อนแพ็คลงกล่องแล้วเข้าตู้เย็น จะช่วยลดการบูดของอาหารได้ ดังนั้นหากของกินมาส่งก็ควรที่จะรีบกินนะครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “4 แอป ฟู้ดเดลิเวอรี่ที่ต้องมีติดเครื่อง” ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันบทความข้างต้น คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกันะครับ